สาระน่ารู้โรคภัยใกล้ตัว

      

                                                                     

                                                                            

 

โรคไมเกรน( MIGRAINE)  เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญคือ อาการปวดศีรษะนั้นมักจะปวดข้างเดียว
หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้งสองข้าง  และแต่ละครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่งได้  แต่บางครั้งก็อาจจะปวดทั้งสองข้าง
ขึ้นมาพร้อมๆกันตั้งแต่แรกอาการปวดมักจะปวดตุ๊บๆ ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลาง ถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อยๆปวดมากขึ้นทีละน้อย จนกระทั้งปวด
รุนแรงเต็มที่ แล้วจึงค่อยๆบรรเทาอาการปวดลงจนหาย ขณะที่ปวดศีรษะก็มักจะมีอาการคลื้นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย  ระยะเวลาปวดมักจะนานหลาย
ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะนานไม่เกิน 1 วัน ในบางรายอาจมีอาการเตือนนำมาก่อนหลายนาที เช่นสายตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงกระพริบๆ อาการปวด
นั้นไม่เลือกเวลา บางรายอาจจะปวดขึ้นมากลางดึก หรือปวดตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา บางรายก็ปวดตั้งแต่ก่อนเข้านอนจนกระทั่งตื่นนอนเช้าก็ยังไม่หาย
ปวดเลยก็ได้  อาการปวดศีรษะไมเกรนต่างจากอาการปวดศีรษะธรรมดาตรงที่ว่า  อาการปวดศีรษะธรรมดามักจะปวดทั่วทั้งศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอาการ
ปวดตื้อๆ ที่ไม่รุนแรงนัก และมักจะมีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อได้นอนหลับสนิทได้พักใหญ่
ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยกลุ่มใด วัยใด เพศใด มากที่สุด       โรคปวดศีรษะไมเกรนส่วนใหญ่จะเป็นในผู็ที่อยู่ในวัยเจริญพันธู์ ผู็หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์ และจิตใจสูง แต่ก็อาจเกิดในผู้ที่สุขภาพจิตดีก็ได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไมเกรน ปัจจุบัน สาเหตุของไมเกรน
ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีอยู่หลายทฤษฎีที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้ โดยเชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแส
ในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดในสมองก็ได้   จากหลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยา ปัจจุบันเชื่อว่าไมเกรนถ่ายทอดทาง
พันธุกรรมได้ แต่จะเกิดหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งหลาย

 

                                                                       

โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร คือ ภาวะที่แผลเยื่อบุกระเพาะ หรือลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะหรือลำไส้     
ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึก muscularis mucosa เรียก ulcer ถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcer ถ้าแผล
อยู่ที่ลำไส้เล็ก เรียก duodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร    การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินปกติ เกิดขึ้นจากการกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง
1. การกระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์ การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง 
2. ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
3. การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก ภาวะที่กรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค zollinger-ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามาก
จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
การทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
1. การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสารสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ
เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม nasid แม้ว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase ii(cox ii)
ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
2. การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำส้มสายชู การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง การกินอาหารไม่เป็นเวลา
อาการของโรคกระเพาะอาหาร   ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอก หรือใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ)บางรายมีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน
อาการจะสัมพันธ์กับการกิน หรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหารจะทุเลา แต่ผู้ป่วยบางคนอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะ
เมื่อทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนกลางคืน

 

                                                                     

โรคภูมิ แพ้ คือโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิไว เกินต่อสารก่อภูมิแพ้ ชึ่งในคนปกติไม่มีปฏิกิริยานี้เกิดขึ้น ผู้ที่เป็นภูมิแพ้มีปฏิกิริยาภูมิไวเกินต่อ  ฝุ่น 
ตัวไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร  ขนสัตว์ เกษรดอกไม้ เป็นต้น  สารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกิดขึ้นนี้เรียกว่า  สารก่อภูมิแพ้ ,
โรคภูมิแพ้  สามารถแบ่งได้ตามอวัยวะที่เกิดโรค
*** โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้  หรือโรคแพ้อากาศ
*** โรคตาอักเสบจากภูมิแพ้
*** โรคหอบหืด
*** โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์  คือการถ่ายทอดจากพ่อและแม่ มาสู่ลูก เหมือนภาวะอื่นๆเช่น  หัวล้าน ความสูง สีของตา  
ในทางตรงกันข้าม แม้ว่าพ่อแม่ของคุณเป็นภูมิแพ้  คุณอาจไม่มีอาการไดๆเลยก็ได้
โดยปกติ ถ้าพ่อหรือแม่ คนไดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้  ลูกอาจจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 25%  แต่ถ้าพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ทั้งคู่ลูกอาจมีโอกาส
เป็นภูมิแพ้สูงถึง 66% โดยเฉพาะโรคโพรงจมูกอักเสบ  จากภูมิแพ้จะมีอัตตราถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์สูงที่สุด ถ้าคุณได้รับการถ่ายทอดโรคภูมิแพ้
ทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่  แต่คุณไม่เคยได้สัมผัสสารก่อภูมิแพ้ คุณก็จะไม่มีอาการของโรคภูมิ คุณจะต้องได้รับสารก่อภูมิแพ้ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา
ภูมิไวเกินในร่างกายของคุณการได้รับสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณที่มากพอ และนานพอ ที่จะกระตุ้นให้ร่างกายคุณเกิดปฏิกิริยาดังกล่าว
จึงทำลงให้เกิดอาการของโรคภูมิ อาการของคุณจะเป็นมากขึ้น เมื่อภูมิต้านทานลด
อาการของโรคภูมิแพ้ที่พบได้มีดังนี้
:  ผื่นที่ผิวหนัง เช่นผื่นแพ้ ลมพิษ คันตามผิวหนัง
:  คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
:  ไอแน่นหน้าอก หายใจไม่มีเสียงหวีด โรคหอบหืด
:  เคืองตา และตาแดง เคืองจมูก
:  บวมรอบปาก อาเจียนและถ่ายเหลว
:  แสบคอ น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ

 

                                                                    

โรคตับ  ภัยเงียบที่น่ากลัว อาการโรคตับส่วนมากมักจะไม่ทำให้เกิดอาการปวด  เพราะว่าตับนั้นมีเส้นประสาท รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดเฉพาะเปลือกหุ้มตับเท่านั้น 
อาการอักเสบภายในเนื้อตับนั้นจึงมักไม่ได้ทำให้เกิด อาการปวดแต่อย่างได  อาการที่แสดงออกมา มักจะเกิดจากการทำหน้าที่ของตับที่ลดลง  ทำให้มีอาการ
อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร  หรือในรายที่เป็นมาก  อาจมีตัวเหลือง ตาเหลือง(ดีซ่าน)  เลือดออกง่าย หรือมีอาการซึมสับสนไปเลยก็มี  นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วย
มีโรคตับที่เป็นเรื้อรัง  จนทำให้เกิดผังผืดในตับมากจนกลายเป็นตับแข็ง  ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะความดันของหลอดเลือดดำ ที่เข้าตับสูง  หรือที่เรียกกันว่า
"  หลอดเลือดดำพอร์ทอล"  นั่นเอง  โดยอาการทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้องหรือท้องมาน  รามไปถึงเกิดเส้นเลือดโป่งบริเวณหลอดเลือดดำในระบบทางเดิน
อาหารโดยเฉพาะ บริเวณหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร  หากเมื่อไหร่ที่ความดันหลอดเลือดสูงมากๆ ก็จะทำให้เส้นเลือดที่โป่งแตก และเกิดเลือดออกใน
ในทางเดินอาหาร มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระมีสีดำแดง  จากเลือดที่ออกในระบบทางเดินอาหาร  โรคตับส่วนมากที่พบนั้นมักจะเป็นภัยเงียบ
นอกจากจะไม่ปวดท้องแล้วนั้นยัง  ไม่ค่อยมีอาการให้เห็น  หากไม่ได้ตรวจเลือด  กว่าที่จะแสดงอาการมักจะต้องเป็นมากแล้ว หรือตับแข็งไปแล้วนั่นเอง
อาการแสดงของผู้ป่วยตับแข็งในระยะท้าย  ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง, ตาเหลือง ,ท้องมาน และมีเส้นเลือดฝอยขยายเป็นสีแดงๆ บริเวณฝ่ามือ และหน้าอก

 

                                                              

โรคสะเก็ดเงิน   โรคสะเก็ดเงินเป็นโรครักษาหายยากโนคหนึ่ง มีอาการตามผิวหนัง ตอนเริ่มกำเริบไหม่ๆจะเป็นตุ่มแดงขอบเขตชัดเจนและมีขุยสีขาว
(สีเงิน) อยู่ที่ผิว ต่อมาตุ่มจะค่อยๆขยายออกจนกลายเป็นปื้นใหญ่และหนาตัวขึ้น เป็นสะเก็ดสีเงิน(ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า  โรคสะเก็ดเงิน)
ชึ่งสะเก็ดนี้จะร่วงเวลาถอดเสื้อหรือเดินไปไหนมาไหน  หรือร่วงอยู่บนเก้าอี้ ที่นอน ถ้าขูดเอาสะเก็ดออกจะมีเลือดซิบๆ รอยโรคของผู้ป่วยส่วนใหญ่
จะเป็นลักษณะปื้นหนาชึ่งเป็นเรื้อรัง ขึ้นๆยุบๆอยู่ตลอดเวลา ไม่หายขาด ชึ่งอาจเกิดได้ที่ผิวหนังของทุกส่วน แต่มักจะพบที่หนังศีรษะ และผิวหนัง
ส่วนที่เป็นปู่มนูนของกระดูก เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ก้นกบ หน้าแข้ง เป็นต้น  ดรคนี้ยังชอบขึ้นที่เล็บ ทำให้เกิดอาการได้หลายลักษณะเช่น  เล็บเป็นหลุม
ตัวเล็บขรุขระ เล็บแยกตัวออกจากผิวหนัง(onycholysis) ผิวใต้เล็บหนา(subungual keratosis) มักเกิดร่วมกับข้ออักเสบ และเนื้อเยื่อขอบเล็บอักเสบ
(paronychia)บางครั้งอาจมี
สาเหตุของโรค
อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม  มักพบมีอาการกำเริบเวลามีภาวะเครียดทางกาย และจิตใจที่มากเกินไป การติดเชื้อ การได้รับบาดเจ็บ
การขูดข่วนผิวหนัง การแพ้แดด การแพ้ยาฯลฯ คนโบราณถือว่าสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากกล้ามเนื้อเป็นพิษ โบราณจึงแก้ที่ต้นเหตุ
ด้วยการไปทำให้ลดพิษในร่างกายลง

 

                                                                

โรคโลหิตจาง   อาการของโรคโลหิตจาง อ่อนเพลีย ,เวียนศีรษะ ,เป็นลม ,หน้ามืด , วิงเวียน , อาการทางสมองเช่น รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย
ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร , นอนไม่หลับ อาการหัวใจขาดเลือด มักพบในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โลหิตจาง
ทำให้อาการของหัวใจรุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น  อาการขาขาดเลือด พบในคนที่มีโรคหลิดเลือดของขา ทำให้ปวดขาเวลาเดินได้ไม่ใกล
อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่นเบื่ออาหาร ท้องอืด
หากท่านพบว่ามีอาการเหล่านี้  ให้สงสัยว่าอาจมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
เพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากไม่ใส่ใจและปล่อยทิ้งไว้จนเป็นมาก อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โลหิตจาง หรือภาวะซีด หมายถึง การที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง หรือระดับความเข็มข้นของเลือดลดลง ปัญหาโลหิตจางในประเทศไทย
ที่พบได้แก่
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Irondeficiency) พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เช่น
ไม่รับประทานอาหารโปรตีน ตับ เลือดหมู หรือมีการเสียเลือดทิ้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง เช่น โรคพยาธิปากขอ ภาวะเลือดออกเรื้อรัง
ในทางเดินอาหาร ริดสีดวงทวาร หรือสูญเสียเลือดมากผิดปกติทางประจำเดือน ในการป้องกันโโรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก
สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู นม ไข่ ผักใบสีเขียว และธัญพืช เช่น ถั่ว งา
แมล็ดฝักทอง ลูกเดือย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และทารกควรบำรุงอาหารเหล่านี้ ให้มากหรือให้กินยาบำรุงโลหิตเสริม
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงมีลักษณะ
ผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มีอาการซีดเหลืองเรื้อรัง   ผู้ที่มีอาการแสดงออกของโรคนี้ จะต้องมีความผิดปกติทางพันธุกรรม
มาจากทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่( ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง)  ถ้ารับจากฝ่ายไดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่เป็นโรค แต่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม
แฝงอยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูก หลานต่อไป ในบ้านเราพบว่า มีคนที่ผิดปกติทางพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า พาหะของโรคนี้
โดยไม่แสดงอาการผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการซีด เหลืองในรายที่เป็นชนิดรุนแรง จะมีการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า การเจริญเติบโตช้าและมีตับ
ม้ามโตร่วมด้วย ชนิดของโรคแบ่งออกเป็นหลายชนิด มีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน
 

 

                                                                           

                                                                    

โรคหัวใจ  องค์กรอนามัยโลก แจ้งว่าโรคหัวใจคร่าชีวิตคนทั่วโลกถึงปีละ 12,000,000 คนต่อปี และจากสถิติยังแสดงว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการ
ตายอันดับหนึ่งของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ หัวใจเป็นอวัยวะที่เป็นกล้ามเนื้อ ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องจักรที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป มันก็คงทำงานเหมือน
เครื่องปั้มน้ำ โดยมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต  ไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย หัวใจคนเรามี 4 ห้อง มีห้องซ้าย-ขวา และบน-ล่าง โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ
 ลิ้นหัวใจมีหน้าที่ในการฟอกโลหิตซีกขวาของหัวใจประกอบไปด้วย หลอดเลือดที่จะสูบฉีดเลือดไปยังปอด เพื่อฟอกเลือดเสียให้ได้รับออกซิเจน
หลังจากที่เลือดได้รับการฟอกแล้ว มันจะส่งกลับมายังหัวจซีกซ้าย เพื่อสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆต่อไป 
อาการผิดปกติเบื่องต้น ของหัวใจและร่างกาย ชึ่งอาจจะเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิดดังนี้
1 มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย  หรือต้องใช้แรงนั่นก็เป็นเพราะว่าหัวใจทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
2 เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าว จะรู้สึกเหมือน
หายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายๆมีของหนักทับอยู่ โดยมากอาการนี้จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก
3 มีอาการหอบจนตัวโยน หากไม่รีบพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาการนี้ อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
4 ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นสม่ำเสมอ ประมาณ60-100ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนมี่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับ 
ไปถึง 150-250 ครั้ง/นาที
5 เป็นลมหมดสติอยู่บ่อยๆ  เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอเพราะเชลล์ที่ทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ
ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้
6 หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อนล่วงหน้าเลย
7 ขาหรือเท้าบวม โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีลอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป
8 ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ แสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลิอดในหัวใจ ห้องขวา กับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่ออย่างผิดปกติ
ส่งผลห้เกิดการผสมปนเปของเลือดแดงกับเลือดดำ
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ    ส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดอุดตันมันก้ไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือด
เพื่อส่งสารอาหารไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ และเมื่อกาลเวลาผ่านไป การอุดตันของหลอดเลือด ก็ยิ่งเริ่มมีมากขึ้น
และนานวันเข้าหลอดเลือดต่างๆของหัวใจก็จะเริ่มหนา และแข็งขึ้นจนเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

 

ไขมันในเลือดสูง  โรคไขมันในเลือดสูงเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอล สูง หรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์
สูงอย่างไดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดเลยก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตราย
ถึงแก่ชีวิตได้
ไขมันในเลือดมีหลายชนิดแต่ที่สำคัญได้แก่......
1 โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองและอีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
    1.1  โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย(แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล/LDL)ถ้ามีในระดับสูงเกินไป จะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง
            ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน
    1.2   โคเลสเตอรอลชนิดดี (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล/HDL)เป็นชนิดที่มีประโยชน์ทำหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ผู้ที่มีโคเลสเตอรอล
            ชนิดนี้สูงจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
2 ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง..
1. ความผิดปกติทางกรรมพันธ์ุ
2. กินอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง หรืออาหารที่ให้พลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย
3. โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
4. การดื่มสุราในปริมาณมากเป็นประจำ ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
5. ขาดการออกกำลังกาย
อันตรายจากภาวะไขมันในเลือดสูง...
  ระดับไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ อุดตัน ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย
หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

                                                                       

หมายเหตุ ผลลัพธ์แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
Visitors: 192,670